ผลการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมครั้งใหญ่กับกลุ่มประชากรเกือบ
5 แสนคนพบว่า "ยีนเกย์"
หรือหน่วยพันธุกรรมซึ่งทำหน้าที่กำหนดให้มนุษย์มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกันโดยเฉพาะนั้น
เป็นเพียงความเชื่อล้าสมัยที่ไม่มีอยู่จริง
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติตีพิมพ์ผลการวิจัยข้างต้นในวารสาร
Science โดยระบุว่าได้วิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมจำนวนมากที่ได้จากคลังข้อมูลชีวภาพของสหราชอาณาจักร
(UK Biobank) และจากฐานข้อมูลของบริษัท 23andMe ในสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นธุรกิจรับตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอให้กับบุคคลทั่วไป
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทางพันธุกรรมของกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงราว
4% ซึ่งบอกว่าเคยมีประสบการณ์ทางเพศกับเพศเดียวกันมาแล้ว
กับข้อมูลทางพันธุกรรมของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
พบว่ากลุ่มที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกันมีความผันแปรทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากคนทั่วไป
(genetic variations) ในยีนอย่างน้อย 5 ตัว
พันธุกรรมและแอนติบอดีเพิ่มโอกาสเป็นเกย์ให้สูงขึ้น
ส.ส.
ข้ามเพศคนแรกของรัฐสภาไทย กับการแต่งกายตามเพศสภาพ
และก้าวแรกของความเป็นมนุษย์เท่ากัน
ทูตอังกฤษประจำไทย
คู่สมรสเพศเดียวกันลูก 3
ที่แสดงให้โลกประจักษ์ว่าคู่รักเพศเดียวกันก็มีครอบครัวอบอุ่นได้
อย่างไรก็ตาม ยีนที่มีความผันแปรเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักเพศเดียวกันในทางอ้อมทั้งสิ้น
เช่นเกี่ยวข้องกับการรับรู้กลิ่นและการผลิตฮอร์โมนเพศ
แต่ไม่มียีนตัวไหนเลยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นคนรักเพศเดียวกันโดยตรง
ทีมผู้วิจัยประเมินว่า
ยีนที่มีความผันแปรดังกล่าวมีโอกาสจะทำให้เกิดพฤติกรรมแบบชาวสีรุ้งได้เพียง 1%
เท่านั้น และปัจจัยทางพันธุกรรมโดยรวมมีผลทำให้คนเป็นเกย์ได้อย่างมากเพียง 25%
โดยยังมีปัจจัยทางชีวภาพและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เข้ามามีอิทธิพลร่วมด้วย
คล้ายกับเรื่องของความสูงที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลากหลายนอกเหนือไปจากพันธุกรรมอ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น