วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

ฝนดาวตกวันแม่ 12 ส.ค.ลุ้นสูงสุด 100 ดวงต่อชั่วโมง


ฝนดาวตกวันแม่ 12 ส.ค.ลุ้นสูงสุด 100 ดวงต่อชั่วโมง
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ชวนชม ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์คืนวันแม่ 12 สิงหาคม จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม 2562 สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มองเห็นด้วยตาเปล่าทั่วไทยในที่มืดสนิท
นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ปรากอ่านเพิ่มเติม

วิจัยพบธาตุลิเธียมในน้ำประปาอาจลดภาวะสมองเสื่อม


น้ำประปาเป็นน้ำที่ใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค ซึ่งมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแคลเซียม แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ แต่เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เผยถึงการวิจัยพบว่าระดับสูงของธาตุลิเธียมในน้ำประปาสำหรับดื่มอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมอ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

LGBT : วิจัยชี้ไม่พบ "ยีนเกย์" หน่วยพันธุกรรมเฉพาะที่ทำให้รักเพศเดียวกัน




ผลการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมครั้งใหญ่กับกลุ่มประชากรเกือบ 5 แสนคนพบว่า "ยีนเกย์" หรือหน่วยพันธุกรรมซึ่งทำหน้าที่กำหนดให้มนุษย์มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกันโดยเฉพาะนั้น เป็นเพียงความเชื่อล้าสมัยที่ไม่มีอยู่จริง

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติตีพิมพ์ผลการวิจัยข้างต้นในวารสาร Science โดยระบุว่าได้วิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมจำนวนมากที่ได้จากคลังข้อมูลชีวภาพของสหราชอาณาจักร (UK Biobank) และจากฐานข้อมูลของบริษัท 23andMe ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นธุรกิจรับตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอให้กับบุคคลทั่วไป

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทางพันธุกรรมของกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงราว 4% ซึ่งบอกว่าเคยมีประสบการณ์ทางเพศกับเพศเดียวกันมาแล้ว กับข้อมูลทางพันธุกรรมของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด พบว่ากลุ่มที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกันมีความผันแปรทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากคนทั่วไป (genetic variations) ในยีนอย่างน้อย 5 ตัว

พันธุกรรมและแอนติบอดีเพิ่มโอกาสเป็นเกย์ให้สูงขึ้น
ส.ส. ข้ามเพศคนแรกของรัฐสภาไทย กับการแต่งกายตามเพศสภาพ และก้าวแรกของความเป็นมนุษย์เท่ากัน
ทูตอังกฤษประจำไทย คู่สมรสเพศเดียวกันลูก 3 ที่แสดงให้โลกประจักษ์ว่าคู่รักเพศเดียวกันก็มีครอบครัวอบอุ่นได้
อย่างไรก็ตาม ยีนที่มีความผันแปรเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักเพศเดียวกันในทางอ้อมทั้งสิ้น เช่นเกี่ยวข้องกับการรับรู้กลิ่นและการผลิตฮอร์โมนเพศ แต่ไม่มียีนตัวไหนเลยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นคนรักเพศเดียวกันโดยตรง

ทีมผู้วิจัยประเมินว่า ยีนที่มีความผันแปรดังกล่าวมีโอกาสจะทำให้เกิดพฤติกรรมแบบชาวสีรุ้งได้เพียง 1% เท่านั้น และปัจจัยทางพันธุกรรมโดยรวมมีผลทำให้คนเป็นเกย์ได้อย่างมากเพียง 25% โดยยังมีปัจจัยทางชีวภาพและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เข้ามามีอิทธิพลร่วมด้วย คล้ายกับเรื่องของความสูงที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลากหลายนอกเหนือไปจากพันธุกรรมอ่านเพิ่มเติม